คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ส่งสัญญาณเตรียมขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อหวังสกัดเงินเฟ้อที่กำลังพุ่งขึ้นอย่างรุนแรงจากราคาพลังงาน ราคาอาหาร ต้นทุนต่าง ๆ เริ่มแพงขึ้น ทำให้คนไทยต้องแบกรับภาระค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นซ้ำเติมในช่วงที่วิกฤติโควิด-19 ยังไม่คลายหายดี ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ย!! หลายคนกังวลว่าช่วยลดเงินเฟ้อได้จริงหรือไม่ ทั้งที่ต้นตอของปัญหาเกิดจากปัจจัยราคาพลังงานต่างประเทศเป็นหลัก
เงินเฟ้อพีกสุดไตรมาส3
ต้องยอมรับเวลานี้เงินเฟ้อในไทยกำลังรุนแรงมากขึ้น ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์ประกาศตัวเลขเงินเฟ้อทั่วไปเดือน พ.ค. 65 อยู่ที่ 7.1% ซึ่งสูงที่สุดในรอบ 13 ปี และมีแนวโน้มรุนแรงมากขึ้นเพราะเมื่อเงินเฟ้อสูงจะยิ่งทำให้คนต้องควักเงินในกระเป๋าจ่ายแพงมากขึ้นเนื่องจากในขณะนี้เงินเฟ้อที่สูงมาจากราคาพลังงานที่ไปเพิ่มต้นทุนอาจไม่ได้มาจากคนใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น ท่ามกลางรายได้ของคนก็ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่ อาจทำให้หลายคนโดยเฉพาะคนรายได้น้อยต้องลำบากจากราคาข้าวปลาอาหารที่ทยอยปรับตัวเพิ่มขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
อัตราเงินเฟ้อทั่วไปที่เพิ่มขึ้น จะยังอยู่กับคนไทยไปอีกสักพักเพราะราคาพลังงานโลกยังแพง จนกว่าสถานการณ์สงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนจะคลี่คลาย หากแบงก์ชาติไม่ขยับเคลื่อนไหวให้เร็วเพื่อควบคุมเงินเฟ้อให้ได้ อาจเป็นเรื่องใหญ่ของเศรษฐกิจไทยในอีกไม่ช้า โดยแบงก์ชาติคาดการณ์เงินเฟ้อทั่วไปปี 65 ที่ 6.2% และจะขึ้นไปพีกสูงสุดในไตรมาส 3 (ก.ค.-ก.ย. 65) ที่ 7.5% จากนั้นจะทยอยลดลงและเข้าสู่กรอบเป้าหมายระยะปานกลาง 1-3% ได้ในไตรมาส 2 ปี 66 ซึ่งคาดการณ์ว่าจะอยู่ที่ 2.5%
ขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อ
เรื่องของเงินเฟ้อสูง กลายเป็นเรื่องกังวลมากขึ้นเพราะจะกระทบกับค่าครองชีพประชาชนโดยตรง ทำให้การประชุม กนง. ของแบงก์ชาติรอบล่าสุดได้ส่งสัญญาณชัดเจนขึ้นถึงความจำเป็นในการปรับดอกเบี้ยนโยบาย แต่ต้องชั่งน้ำหนัก 3 ด้าน ประกอบด้วยด้านที่ 1 ชั่งน้ำหนักระหว่างการสนับสนุนฟื้นตัวเศรษฐกิจกับการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ ซึ่งแบงก์ชาติแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจกำลังมีแนวโน้มฟื้นตัวจึงควรถอนคันเร่งเรื่องดอกเบี้ยที่ต่ำเพื่อไม่ให้เศรษฐกิจร้อนแรงในอนาคตจนมาเสริมไฟเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น
ด้านที่ 2 ได้ชั่งน้ำหนักเรื่องเวลาว่าจะปรับขึ้นเมื่อใด ซึ่งต้องดูช่วงเวลาใดถึงจะเหมาะจะควร…เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจสะดุดแต่แบงก์ชาติบอกว่าถ้าขึ้นดอกเบี้ยช้า อาจทำให้ต้องใช้ยาแรงในปี 66 ซึ่งไม่ได้เป็นผลดีต่อเศรษฐกิจที่อาจกระทบมากกว่านี้ เพราะกว่าที่การขึ้นดอกเบี้ยจะมีผลต่อเงินเฟ้อและเศรษฐกิจก็ต้องใช้เวลา
ด้านที่ 3 ได้ชั่งน้ำหนัก หากว่า…ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายแล้วการส่งผ่านไปยังประชาชน ทำให้สถาบันการเงินเพิ่มดอกเบี้ยเงินกู้โดยเฉพาะครัวเรือนรายได้น้อย แต่แบงก์ชาติเองได้วิเคราะห์ความคุ้มค่าหากจำต้องขึ้นดอกเบี้ยจริง ๆ ก็มั่นใจได้ว่า เงินเฟ้อจะสร้างภาระมากกว่าค่อนข้างเยอะ ซึ่งจากต้นปีจนปัจจุบัน เงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ได้เพิ่มค่าใช้จ่ายให้กับครัวเรือน 850 บาทต่อเดือน แต่สมมุติถ้าขึ้นดอกเบี้ย 1% ภาระค่าใช้จ่าย 120 บาทต่อเดือน ต่างกันถึง 7-8 เท่า แสดงให้เห็นว่าขึ้นดอกเบี้ยสกัดเงินเฟ้อคุ้มค่าแม้ต้นทุนดอกเบี้ยประชาชนจะเพิ่มขึ้นคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
หวั่นเพิ่มภาระคนไทย
ในเรื่องนี้เองเป็นเรื่องที่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รมว.คลัง ได้แสดงความกังวลอย่างมากถึงกับบอกว่าหากแบงก์ชาติจะขึ้นดอกเบี้ยก็ควรไปคุยกับสถาบันการเงินและบรรดาธนาคารให้ดีไม่ให้ขึ้นดอกเบี้ยเท่ากับที่แบงก์ชาติขึ้นหรืออยากให้ตรึงเอาไว้เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมภาระค่าใช้จ่ายของคนไทยมากไปกว่านี้ ซึ่งสอดคล้องกับการหารือของ กนง. ในรอบล่าสุดที่ระบุไว้ในเอกสารเผยแพร่ไว้ชัดเจนว่าขึ้นดอกเบี้ยก็ต้องหาทางช่วยประชาชนกลุ่มเปราะบางที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่และมีภาระหนี้อยู่สูง
ไม่เช่นนั้นรายได้ของคนกลุ่มนี้หากไม่กลับมาแต่หนี้ที่มีกลับมีภาระด้านดอกเบี้ยเพิ่มเข้าไปอีกจะยิ่งซ้ำเติมความลำบาก ดังนั้น
ต้องรอดูว่าแบงก์ชาติจะคุยกับธนาคารพาณิชย์และธนาคารของรัฐให้เข้าใจอย่างไร โดยอาจออกเป็นมาตรการรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้เพื่อบรรเทาภาระหนี้ให้กับคนกลุ่มเปราะบางที่อ่อนไหวง่ายต่อภาระค่าใช้จ่ายอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งปัจจุบันยังมีมาตรการที่เอาไว้ช่วยเหลือกลุ่มนี้คือการปรับโครงสร้างหนี้ระยะยาว
ต้องใช้เวลากว่าดอกเบี้ยมีผล
แม้แบงก์ชาติได้เลือกขึ้นดอกเบี้ยในช่วงจังหวะเวลาที่เริ่มจะฟื้นไข้จากโควิด-19 อาจเป็นจุดที่ต้องเสี่ยงเพราะการขึ้นดอกเบี้ยก็จำเป็นเร่งด่วนที่ต้องทำตอนนี้เดี๋ยวนี้ เนื่องจากการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายจะมีผลต่อเงินเฟ้อชะลอจนลดลงนั้นต้องใช้เวลาถึง 1-2 ไตรมาส หรือครึ่งปีเลยทีเดียว เช่นเดียวกับการมีผลต่อระบบเศรษฐกิจไทยต้องใช้เวลามากถึง 8 ไตรมาส หรือ 2 ปี ทำให้เป็นเหตุผลว่าทำไมนักเศรษฐศาสตร์ถึงสนับสนุนให้ขึ้นดอกเบี้ยนโยบายถึงขั้นสนับสนุนให้มีประชุม กนง.นัดพิเศษเพราะกว่าจะถึงรอบเดือน ส.ค.นี้ อาจนานเกินไปไม่ทันการณ์ แต่หากขึ้นดอกเบี้ยแบบอัดยาแรงก็อาจให้เศรษฐกิจสะดุดลงได้เช่นกัน
ยิ่งต้องใช้เวลานานหลายคนกังวลหนักว่า ภาครัฐจะสามารถดูแลราคาสินค้าและราคาน้ำมันที่นับวันจะยิ่งแพงขึ้น ๆ ไหวหรือไม่ในช่วงเวลาที่ต้องรอเงินเฟ้อลดจากการขึ้นดอกเบี้ยเพื่อชะลอความร้อนแรง โดยเฉพาะราคาน้ำมันที่ควบคุมไม่ได้เพราะมาจากราคาน้ำมันดิบโลกยืนเหนือ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลมานาน ซึ่งภาครัฐได้ใช้กลไกของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาอุดหนุนช่วยพยุงราคาน้ำมันในประเทศจนฐานะการเงินย่ำแย่หนัก ข้อมูล ณ วันที่ 19 มิ.ย.65 กองทุนติดลบไปแล้วกว่า 96,000 ล้านบาท ซึ่งกำลังจะแตะ 100,000 ล้านบาทเข้าทุกวัน
ลุ้นรัฐแก้วิกฤติของแพง
หากดูมุมมองนักเศรษฐศาสตร์หลายคน ยังบอกว่าถึงอย่างไรรัฐก็ต้องไหวในการดูแลราคาพลังงานและราคาสินค้า รวมถึงราคาอาหาร เพราะเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่ต้องบริหารจัดการประเทศและหาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเฉพาะการขอความร่วมมือจากโรงกลั่นให้ยอมนำกำไรมาช่วยโปะให้กับกองทุนฯ แต่การบิดเบือนราคานาน ๆ ไม่ใช่เรื่องที่ดีแน่นอน เพราะยิ่งทำให้กลไกตลาดเสียหายแถมอาจไม่ใช่กระทบแค่ฐานะการเงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง แต่อาจกระทบไปถึงฝั่งภาคธุรกิจเข้าด้วย
สุดท้ายแล้ว!! ก็ต้องดูกันว่าการขึ้นดอกเบี้ยของแบงก์ชาติจะสกัดกั้นเงินเฟ้อได้แค่ไหน ซึ่งในความเป็นจริงแล้วราคาน้ำมันควบคุมได้ยาก และยังเป็นต้นทุนให้กับทุกอย่าง ข้าวปลาอาหารข้าวแกงที่ขึ้นราคาแล้วจะปรับลดลงหรือไม่ รวมกับภาระดอกเบี้ยเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น ถ้าไม่เป็นอย่างที่คาดหวัง…การขึ้นดอกเบี้ยครั้งนี้ ยิ่งไปซ้ำเติมชาวบ้านให้ยิ่งเจ็บหนักขึ้นไปอีก!!.
..ทีมเศรษฐกิจ..