นายมนตรี มหาพฤกษ์พงศ์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงผลสำรวจเอฟทีไอ โพล ภายใต้หัวข้อเงินเฟ้อกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างไร จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. ครอบคลุมผู้บริหาร 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัดว่า ผู้บริหาร ส.อ.ทคำพูดจาก เกมสล็อต. มองว่า ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากผลกระทบของวิกฤติความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และปัญหาซัพพลาย เชน ดิสรัปชั่น เป็นปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ภาวะเงินเฟ้อปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น จนส่งผลให้ผู้ประกอบการต้องแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นทั้งจากราคาวัตถุดิบและพลังงาน
นอกจากนี้ยังกดดันกำลังซื้อภาคครัวเรือนให้ลดลงอีกด้วย โดยคาดว่า ตลอดทั้งปี 65 อัตราเงินเฟ้อของไทยจะอยู่ที่ระดับ 4-5% จึงขอให้ภาครัฐเร่งพิจารณาออกมาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อยและผู้ประกอบการ เอสเอ็มอี รวมทั้งปรับลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต เช่น วัตถุอาหารสัตว์ ปุ๋ย เป็นต้น และตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร ต่อเนื่องไปอีก 3-6 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบของผู้ประกอบการและประชาชน และหากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทวีความรุนแรงมากขึ้น และเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซียจากยุโรปและสหรัฐ อาจส่งผลกระทบต่ออัตราเงินเฟ้อให้ปรับตัวสูงขึ้นอีก จนทำให้เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอยได้
สำหรับรายละเอียดของผลสำรวจ 3 อันดับแรก คือ ปัจจัยใดเร่งให้เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก อันดับที่ 1 ราคาน้ำมันดิบและสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น 86.50% อันดับที่ 2 ภาวะสงครามจากความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน 77.00% อันดับที่ 3 ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จากปัญหาซัพพลาย เชน ดิสรัปชั่น 69.50%, ท่ามกลางภาวะเงินเฟ้อ ผลกระทบในเรื่องใดส่งผลต่อเศรษฐกิจและประชาชนในวงกว้าง อันดับที่ 1 การแบกรับภาระต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น จนส่งผลต่อภาวะราคาสินค้าแพง 88.50% อันดับที่ 2 ภาระหนี้สินภาคครัวเรือน และการขาดสภาพคล่องของผู้ประกอบการ 64.00% อันดับที่ 3 กำลังซื้อภาคครัวเรือนที่ลดลง 57.00%คำพูดจาก สล็อตแจกเครดิตฟรี
ส่วนคาดการณ์เงินเฟ้อตลอดทั้งปี 65 จะอยู่ในระดับใด อันดับที่ 1 อัตราเงินเฟ้อ 4-5% 50.00% อันดับที่ 2 อัตราเงินเฟ้อ 6-8% 43.00% อันดับที่ 3 อัตราเงินเฟ้อ 1-3% 7.00%, ภาคอุตสาหกรรมจะปรับตัวอย่างไร ท่ามกลางเงินเฟ้อที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง อันดับที่ 1 ปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อลดต้นทุน และบำรุงรักษาเครื่องจักร 74.50% ให้มีประสิทธิภาพอันดับที่ 2 นำเทคโนโลยีและระบบดิจิทัลมาช่วยในการดำเนินธุรกิจ 62.00% อันดับที่ 3 เน้นการใช้วัตถุดิบภายในประเทศ เพื่อทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ 54.00%
ขณะที่มุมมองภาครัฐควรมีมาตรการอย่างไร ในการเร่งดำเนินการแก้ปัญหาภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง อันดับที่ 1 มาตรการช่วยเหลือเฉพาะกลุ่ม โดยเฉพาะผู้มีรายได้น้อย 59.50% และผู้ประกอบการเอสเอ็มอี อันดับที่ 2 ลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่จำเป็นต่อภาคการผลิต 58.50% อันดับที่ 3 ตรึงราคาน้ำมันดีเซลให้อยู่ที่ 32 บาทต่อลิตร ต่อเนื่องไปอีก 3-6 เดือน 58.00%, โอกาสที่เศรษฐกิจโลกเข้าสู่ภาวะถดถอย หรือไม่ อันดับที่ 1 เศรษฐกิจโลกมีความเสี่ยงเกิดภาวะถดถอย 76.00% อันดับที่ 2 เศรษฐกิจโลกยังมีเสถียรภาพและสามารถขยายตัวได้ 24.00%